รู้จักกับ.. BOI ออสเตรเลีย ผู้ผลักดันการลงทุนธุรกิจในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 16 เม.ย. 2015 ผู้เขียน

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาทาง MaBrisbane ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยม สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครซิดนีย์ (Thailand Board of Investment, Sydney) หนึ่งในหน่วยงานสำคัญของภาคธุรกิจไทย ที่มีส่วนในการให้ความรู้ คำปรึกษา และช่วยเหลือนักลงทุนชาวออสเตรเลีย เพื่อเข้าไปลงทุนธุรกิจในประเทศไทย โดยครั้งนี้เราได้รับเกียรติให้สัมภาษณ์โดย คุณ วิรัตน์ ธัชศฤงคารสกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครซิดนีย์ ซึ่งจะมาพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานของ BOI รวมทั้งแนวโน้มการลงทุนและข้อแนะนำดี ๆ..

1604-boi-syd-mr-wirat
คุณวิรัตน์ ธัชศฤงคารสกุล
ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครซิดนีย์
Mr Wirat Tatsaringkansakul - Director
Thailand Board of Investment, Sydney

 

 

บทบาทสำคัญ ของ สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน (BOI) ในประเทศออสเตรเลีย

สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน (BOI) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี มีสำนักงานอยู่ต่างประเทศทั้งหมด 13 แห่ง หน้าที่หลัก ๆ คือการเชิญหรือชักจูงนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในบ้านเรา ซึ่งประเทศเราก็ยังขาดแคลนเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ Hi-technology หรือว่าเรื่องของ Research & Development (R&D)

กิจกรรมหลัก ๆ ที่เราจัดคือ จัดการสัมนาเพื่อให้ได้นักลงทุนที่สนใจประเทศไทย มีการไปเยี่ยมแต่ละบริษัทที่ต้องการข้อมูลพิเศษ หรือในเรื่องของ After sale service หลังจากที่ไปลงทุนในประเทศไทยแล้ว ถ้าเกิดติดขัดปัญหาอะไร ทางเราจะช่วยประสานงานให้

ในเมืองไทย BOI มีหน่วยงานในต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ พิษณุโลก สงขลา หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี โคราช ชลบุรี เพื่อให้บริการนักลงทุนท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาที่กรุงเทพฯ อยากจะสอบถามข้อมูลหรือยื่นขอรับการส่งเสริม ก็สามารถยื่นได้ที่หน่วยงานท้องถิ่น

 

จัดสัมมนาส่งเสริมการลงทุนในไทยให้นักลงทุนต่างชาติ ทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

กิจกรรมสัมนาที่ออสเตรเลีย 1 ปี จะจัด 4 ครั้ง ใน 4 เมืองหลัก คือ เมลเบิร์น ซิดนีย์ บริสเบน แอดิเลด รวมถึงเพิร์ทด้วย แต่เราก็จะเวียนกันไป สำนักงาน BOI ที่นี่จะครอบคลุมที่นิวซีแลนด์ด้วย คิดว่าเราจะไปจัดสัมนาที่นิวซีแลนด์ด้วยเหมือนกัน เพราะนิวซีแลนด์ถือว่าเป็นตลาดเล็ก จะจัดปีเว้นปี เราจะเชิญผู้บริหารจาก BOI มาร่วม แต่ถ้าเป็นการจัดกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีเอง เราก็ดำเนินการไป

กิจกรรมในปี้นี้ เราจัดที่ออสเตรเลีย 2 เมือง เมืองที่มีแน่ ๆ คือเมลเบิร์น The Australian Auto Aftermarket Expo (AAA) และจัดที่นิวซีแลนด์ 2 เมือง น่าจะเป็นเมือง ไครสต์เชิร์ช กับ เวลลิงตัน ช่วงปลายปี เป็นกิจกรรมสัมนาและเชิญผุ้ประกอบการที่สนใจตลาดในประเทศไทยและอาเซียนให้มาเข้าฟัง

เรามีองค์กรพันธมิตรไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐบาลต่าง ๆ ของออสเตรเลียเอง หรือ FAPM (Federation of Automotive Products Manufacturers) เป็นองค์กรของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ช่วยเชิญบริษัทในเครือข่ายให้เข้าร่วมฟังสัมนา และประชาสัมพันธ์ในหนังสือพิมพ์บ้าง บุคคลที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้ามานั่งฟังได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในกลุ่มคนที่สนใจจะให้เราเข้าไปให้คำปรึกษาเป็นการเฉพาะ จะนัดหมายและให้คำปรึกษาเป็นรายบริษัทไป

 

สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ประจำประเทศออสเตรเลีย (Thailand Board of Investment, Australia) จัดงานสัมมนา ในหัวข้อ “THAILAND...

Posted by MaBrisbane.com on Tuesday, April 14, 2015

"การจัดสัมนาที่บริสเบน เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2558"

 

แนวโน้มของนักธุรกิจออสเตรเลียที่ไปลงทุนในไทย

ปีที่ผ่านมานักธุรกิจใหม่ดรอปลงไป เนื่องจากสถานการณ์บ้านเรายังไม่เรียบร้อยเท่าไหร่ ซึ่งการลงทุนมันเป็นเรื่องของการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่นักท่องเที่ยวแบบเข้าไปแล้วออกมา ส่วนใหญ่เขามอง 3-5 ปี ว่ามันจะไปยังไงและจะไปยังไง เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมีอะไรที่กระทบ ส่วนใหญ่จะรอ เพื่อให้นิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนที่ไม่เคยไปลงทุนในประเทศไทย แต่ถ้าเกิดเป็นนักลงทุนที่ลงทุนอยู่แล้ว ก็เข้าใจดีว่าประเทศไทยเป็นยังไง เขาก็จะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่

ในส่วนของการขยายการผลิตก็ขยายไปตามปกติ เรื่องการลงทุนเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนเยอะ บางบริษัทที่ไปต้องคุยกับธนาคารก่อนว่าปล่อยกู้รึเปล่า เพราะว่าประเทศที่อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ บางครั้ง ธนาคารไม่ปล่อยกู้

แต่แนวโน้มยังไงก็ตามเนื่องจากค่าแรงที่นี่สูงมาก ถ้าเกิดจะทำของผลิตถ้าอยู่ในประเทศเขาก็อยู่ไม่ได้ ถ้าไม่ไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย หรือประเทศอื่นก็ตามเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เขาก็ต้องโดนสินค้าจากประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นของจีน เข้ามาตี ในแนวธุรกิจแล้วเขาต้องมองหาการลงทุนในต่างประเทศ หรือไม่ก็ต้องพับ Scale ไปในรูปแบบที่ว่าหนีคู่แข่งไปเลย ไม่ใช่เป็นตลาดในเรื่องของการผลิตจำนวนมาก ไม่ใช่ Mass production อาจไปลงทุนเรื่อง R&D (research & Development) เยอะขึ้น ในเรื่องของการผลิตสินค้าที่ไม่ได้เน้นปริมาณ

 

ประเทศไทยคือ Hub ของอาเซียน ได้เปรียบคู่แข่งเรื่องการลงทุน

คู่แข่งการลงทุนของไทย มองในรูปแบบการลงทุนเป็นเขต ๆ เช่น ถ้าจะไปลงทุนไทย ก็จะไม่ได้มองตลาดไทยประเทศเดียว จะมองทั้งอาเซียน หรือว่าในอาเซียนถ้าเกิดไปแล้วจะยึดตลาดตรงนี้ ควรจะลงทุนที่ไหน ก็มีทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม ซึ่งแต่ละประเทศจะมีข้อด้วย ข้อดี ข้อเสียต่างกัน อยู่ที่ว่าธุรกิจนั้นต้องการอะไรเป็นหลัก บางบริษัทใช้แรงงานเยอะ อาจไปลงทุนประเทศลาวหรือเวียดนาม บริษัทที่ต้องการเรื่องของ Infrastructure (ระบบพื้นฐานการขนส่ง) อาจจะมาที่ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์

1604-boi-thailand-asian-hub

ประเทศไทยถือว่าอยู่ใน Hub ของอาเซียน ทำให้เราได้เปรียบคนอื่น สิ่งที่เราต้องทำคือเรื่องของ Logistic - ระบบการจัดการการส่งสินค้า แต่ยอมรับว่าเรามีปัญหาเรื่องค่าแรง รัฐบาลตอนนี้จึงมีนโยบายเปิดอุตสาหกรรมตามแนวตะเข็บชายแดน ที่แม่สอด หรือทางเมืองกาญฯ ที่ติดกับพม่า เพื่อใช้แรงงานที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน คือลดค่าแรง แต่ยังไงก็ตามประเทศเราในเรื่องของความปลอดภัยดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นพม่าหรือลาว เมืองไทยเหมาะที่จะลงทุนที่สุดในอาเซียน

 

ตลาดไทยขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ มุ่งเน้นคนไทยเรียนสายอาชีพ

ปัญหาหลักของเราคือเรื่องของแรงงานฝีมือ เราขาดแคลนเยอะ อัตราการจ้างงานต่ำ เนื่องจากปริมาณการลงทุนในไทยสูงมาก ออสเตรเลียอาจไปลงทุนในไทยน้อย แต่ถ้าเกิดญี่ปุ่นลงทุนในไทยถือว่าเยอะมาก อย่างสำนักงาน BOI ในญี่ปุ่นทุกวันมีนักลงทุนมาเพื่อยื่นเรื่องสมัครวันนึงประมาณ 3-4 รายขึ้นไป ถือว่าเยอะมาก เราได้รับคำขอจากญี่ปุ่นเยอะที่สุด ทุกคนต้องการ technician เป็นหลัก เด็กที่จบ ปวช ปวส ส่วนใหญ่จะมีงาน ไม่มีใครที่ตกงาน พวกระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโทจะหางานยากกว่า กรมอาชีวะก็ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยแทนที่จะมุ่งไปที่ปริญญาบัตร ก็มามุ่งที่สายอาชีพ

1604-boi-thai-honda
ที่มา: ThaiBOISydney, Nation Multimedia (bit.ly/1C0piAX)

 

แนวโน้นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ หลังการปิดตัวของหลายโรงงานในออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย อุตสาหกรรมยานยนต์จะไม่มีแล้ว ทุกโรงงานปิดหมด แต่ยังมีเวลาอีก 2-3 ปี พฤติกรรมของนักลงทุนชาวออสเตรเลีย จะไม่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ รัฐบาลออสเตรเลียถือว่าถ้าคุณไม่เก่งพอ ไม่แข็งพอที่จะอยู่ในอุตสาหกรรม คุณต้องออกไป เพราะฉะนั้นทางเลือกของอุตสาหกรรมมี 2 อย่างคือ ต้องผันตัวเองไปทำอุตสาหกรรมอื่นที่มีมูลค่าสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรืองของอุตสาหกรรมทางด้านอากาศยาน ซึ่งดูแล้วแนวโน้มรัฐบาลที่นี่อยากจะดันไปทางนั้น หรือไม่ต้องย้ายตัวเองไป ซึ่งมีหลายรายพยายามเจรจา หาลูกค้าให้ได้ก่อน

1604-boi-automotive-industry

ถ้าเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในบ้านเรา มีโรงงานประกอบรถยนต์ 15 -17 แห่ง ปริมาณการผลิต 2.5 ล้านคันต่อปี เป็นอันดับ 9 ของโลก ในขณะที่ออสเตรเลียมีมีโรงงานประกอบอยู่ 3 แห่ง อยู่ที่ประมาณ 2 แสนคัน ซึ่ง 3 แห่งนี้ประกาศปิดแน่นอนแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เขารู้แล้วว่าอาจจะต้องไปเมืองไทย เพียงแต่ว่าพยายามหาตลาดให้ได้ลูกค้าก่อน เซ็นต์สัญญาก่อนที่จะลงทุนการผลิต

 

สินค้าการเกษตรชั้นดี เริ่มต้นที่ออสเตรเลีย นำไปผลิตต่อที่ไทย ป้อนสู่ตลาดอาเซียน

สิ่งนึงที่ออสเตรเลียดีคือเรื่องของแหล่งวัตถุดิบ โดยเฉพาะเรื่องสินค้าเกษตร แต่ข้อด้อยคือเขาเพาะปลูกได้ มีวัตถุดิบเยอะ แต่ในเรื่องของการ Processing มีต้นทุนสูง เราพยายามหาทางร่วมมือให้ไป Process ที่เมืองไทย เพื่อป้อนสู่ตลาดอาเซียน รวมทั้งตลาดจีนตอนใต้ โครงการนี้เริ่มมา 2-3 ปี โดยท่าทูตมาริษ เสงี่ยมพงษ์ (เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ในขณะนั้น ปัจจุบันย้ายไปที่ประเทศนิวซีแลนด์) กับเกษตร BOI ร่วมกันผลักดันอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสำเร็จเมื่อปลายปีที่แล้ว คือเปิดตลาดเนื้อ นำโคมีชีวิตไปเมืองไทยเพื่อไปชำแหละ และเอาเนื้อป้อนตลาดอาเซียน และจีน ซึ่งไทยกับออสเตรเลียเซ็นต์เปิดตลาดไปแล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เราคิดว่าปีหน้าน่าจะเห็นผล คงอาศัยเวลาซักช่วงนึง

1604-boi-maris-australia-thai
"เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา นำคณะนักธุรกิจผู้ผลิตโคเนื้อของออสเตรเลีย
รับฟังการบรรยายจาก B.O.I. และกระทรวงพาณิชย์"
ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ (bit.ly/1J4WTvt)

 

ส่งเสริมการจัดอบรมการฝึกวิชาชีพ พัฒนาฝีมือแรงงานไทย ตอบรับการลงทุนจากต่างประเทศ

อีกตลาดนึงที่เรามองคือ ตลาดแรงงาน เราขาดแคลน เราพยายามจะดึงเรื่องของการฝึกอบรมในสาขาวิชาชีพ เข้าไปลงทุนในเมืองไทย โดยหลักถ้าเราขาดแคลนแรงงานในสาขาวิชาชีพ เราก็มีสองทางเลือกคือ ต้องหาแรงงานในสายวิชาชีพมาเรียน หรือเราต้องเพิ่มศักยภาพ คือ แทนที่ผลิตได้ 100 ชิ้น เพิ่มเป็น 200 ชิ้น พัฒนาฝีมืออีกทางนึง นั่นคือเหตุผลที่เราอยากจะนำ Training การฝึกอบรมเข้ามาในประเทศ

เราเห็นโรงเรียนฝึกอบรมสอนบ้านเราเยอะไปหมด แต่ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเป็นเรื่องของคอมพิวเตอร์ แต่ยังไม่ค่อยมีเรื่องของความชำนาญที่โรงงานต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นช่างเชื่อม ช่างกลึง ปกติเรามีแค่ในโรงเรียนเทคนิค แต่ยังไม่มีสอนการใช้เครื่องมือวัดระดับสูง หรือการทำช่างเชื่อมเหล็ก เชื่อมอลูมิเนียม หรือแม้แต่โรงเรียนที่สอนขับ Forklift - รถงาน ก็ไม่มีเป็นการเฉพาะ มองว่าเป็นสาขาวิชาชีพที่ต้องมีโรงงานส่งคนเข้าไปฝึกอบรม

อุตสาหกรรมต่างประเทศเข้ามาลงทุนเยอะขึ้น ก็ต้องการมาตรฐานระหว่างประเทศ เช่น บริษัทออสเตรเลียที่มาลงทุนเมืองไทย ก็ต้องการบริษัทที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเท่าเทียมกับออสเตรเลีย

 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
Thailand Board of Investment, Sydney

Suite 101, Level 1, 234 George St.
Sydney NSW 2000
โทร: 02 9252 4884
แฟกซ์: 02 9252 2883
อีเมล์: Sydney@boi.go.th
เว็บไซต์: www.boi.go.th

 

ขอขอบพระคุณ..

คุณวิรัตน์ ธัชศฤงคารสกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครซิดนีย์ สำหรับการสัมภาษณ์
พี่น้อยและพี่ตุ้ย จากไทยอิสานเรดิโอ สำหรับภาพวิดีโอและการอำนวยความสะดวก

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 22 เม.ย. 2015
MaBrisbane

Welcome to The Sunshine State