สถานภาพและสิทธิพิเศษบัตร Royal Orchid Plus ของการบินไทย

เผยแพร่เมื่อ 01 มิ.ย. 2016 ผู้เขียน

มีเพื่อน ๆ หลายคนที่เดินทางกับทางการบินไทยเป็นประจำแต่ไม่รู้จักกับโปรแกรมที่ชื่อว่า.. รอยัลออร์คิดพลัส (Royal Orchid Plus, ROP) วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้า ROP นี้กันว่ามันคืออะไร” และ มีข้อดีอย่างไรบ้าง?


รอยัลออร์คิดพลัส (Royal Orchid Plus, ROP) คืออะไร?

ROP เป็นโปรแกรมสะสมไมล์ของการบินไทยที่สมาชิกผู้โดยสารสะสมไว้เมื่อเดินทางกับทางการบินไทย รวมถึงสายการบินในเครือพันธมิตรสตาร์อัลไลแอนซ์ ที่หลายคนมักเคยได้ยินตอนขึ้นเครื่อง และยังรวมบริษัทอื่น ๆ อย่างเช่นบัตรเครดิต และการท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ได้ตกลงร่วมกับทางการบินไทยในการมอบไมล์มาสะสมใน ROP

20160601-rop-sign

ใครยังไม่มีแอคเคาท์สามารถสมัครได้ที่นี่.. "สมัครสมาชิก"

*สิทธิพิเศษเมื่อสมัครผ่านระบบออนไลน์รับ 2,500 โบนัสไมล์ ในเที่ยวบินแรกกับการบินไทย

 

การสะสมไมล์

เมื่อสมัครสมาชิก ROP เรียบร้อยแล้ว ทีนี้เราก็เริ่มอยากรู้แล้วว่าไมล์ที่สะสมมานั้นเอามาทำอะไร หลัก ๆ แล้วจะมีประโยชน์อยู่ 2 อย่างด้วยกัน..

อย่างแรก คือ ไมล์สะสม (Earned miles) เพื่อนำไปแลกของรางวัลต่าง ๆ เช่น ตั๋วเครื่องบิน อัพเกรดที่นั่ง และโปรโมชั่นพิเศษอื่น ๆ ไมล์สะสมนี้จะได้รับเมื่อเราซื้อตั๋วเครื่องบินของการบินไทยหรือในเครือพันธมิตรสตาร์อัลไลแอนซ์อย่างที่กล่าวไปในตอนต้น หรือจำพวกใช้จ่ายบัตรเครดิต จองโรงแรม หรือทำอะไรก็ตามจากบริษัทคู่สัญญาของการบินไทย ที่มีการแจ้งไว้ว่าจะได้ไมล์สะสมของการบินไทยเท่านั้นเท่านี้ ตรงนี้แหละที่สามารถนำมาแลกของรางวัลเหล่านี้ได้

และเมื่อไม่นานมานี้ช่วงต้นปี 2016 การบินไทยได้ปรับลดภาษีค่าน้ำมัน ทำให้เกิดผลประโยชน์สำหรับสมาชิก ROP แลกตั๋วเครื่องบินได้ในราคาที่ถูกลงขึ้นเป็นอย่างมาก หากอยากรู้ว่าของรางวัลมีอะไรอีกบ้าง สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่.. "แลกของรางวัล"

20160601-rop-awards

 

อย่างที่สอง คือ ไมล์เอกสิทธิ์ (Qualifying Miles, Q Miles) เป็นไมล์ที่ได้รับจากระยะทางการบินจริงเท่านั้น บินเท่าไหร่ก็สะสมเท่านั้น จะไม่นำไมล์จากบริษัทในคู่สัญญาเหมือนไมล์สะสมที่กล่าวในข้างบนมาคิด ไมล์เอกสิทธิ์นี้จะนำมาคำนวณปรับสถานภาพสมาชิกแต่ละระดับ โดยมีการแบ่งสมาชิกออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน เริ่มจากการสมัคร ROP ครั้งแรกก็จะได้บัตรเบสิคมา หลังจากนั้นเมื่อสะสมไมล์ไปเรื่อย ๆ ก็จะเลื่อนเป็น บัตรเงิน, บัตรทอง และบัตรแพลทินัม ตามลำดับ และแต่ละระดับนั้นก็จะได้รับสิทธิพิเศษที่แตกต่างกันไป

20160601-rop-card

รหัสชั้นโดยสาร(Booking Class) ก็มีผลต่อไมล์สะสมที่จะได้รับ โดยรวมแล้วคือชั้นโดยสารที่อยู่ระดับสูงก็จะได้เปอร์เซ็นต์จากระยะทางบินที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกันถ้าบินด้วยชั้นประหยัดที่ซื้อจากโปรโมชั่นต่าง ๆ ก็จะได้ไมล์สะสมที่ 25-50% ของระยะทางที่บินจริง เวลาจองตั๋วก็สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากรหัสชั้นโดยสารที่ได้รับมา

เที่ยวบินภายในประเทศไทย
20160601-rop-earning-miles-dom

เที่ยวบินระหว่างประเทศ
20160601-rop-earning-miles-intl

 

สถานภาพสมาชิกแต่ละระดับ

บัตรเงิน: ไมล์เอกสิทธิ์จำนวน 10,000 ไมล์ในระยะเวลา 12 เดือน หรือ 15,000 ไมล์ ในระยะเวลา 24 เดือน

บัตรทอง: ไมล์เอกสิทธิ์จำนวน 50,000 ไมล์ ในระยะเวลา 12 เดือน หรือ 80,000 ไมล์ ในระยะเวลา 24 เดือน

บัตรแพลทินัม: เดินทางกับการบินไทยในชั้นหนึ่ง รอยัล เฟิร์สท หรือ ชั้นธุรกิจ รอยัล ซิลค์ จำนวน 80,000 ไมล์ ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนต่อรอบ เป็นเวลา 2 รอบต่อเนื่องกัน

2401-tg-rop

โดยมีรายละเอียดและเงือนไขเพิ่มเติมในแต่ละระดับ ท่านใดอยากรู้สามารถอ่านต่อได้ที่.. "สถานภาพสมาชิก และสิทธิประโยชน์"

 

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

20160601-rop-benefits

จะเห็นได้ว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับค่อนข้างเยอะทีเดียว จากที่ได้ยินมาบัตรที่คนส่วนใหญ่อยากได้มากที่สุดคือ "บัตรทอง"

 

บัตรทอง

ได้รับสิทธิพิเศษใกล้เคียงกับบัตรแพลทินัม ต่างกันตรงสิทธิพิเศษบางอย่าง แต่คุณประโยชน์นั้นเรียกได้ว่าคุ้มค่าจริง ๆ หากได้มาครอบครอง เช่น สามารถเพิ่มน้ำหนักกระเป๋าอีก 20 กิโลกรัม, สิทธิเช็คอินและขึ้นเครื่องก่อน, ตรวจหนังสือเดินทางช่องพิเศษ, การันตีที่นั่งก่อนเดินทางภายใน 72 ชั่วโมง, ใช้ห้องรับรอง Royal Silk Class ได้(พาเพื่อนเข้าได้อีก 1 คน), อัพเกรดที่นั่ง 1 ชั้นฟรี เป็นต้น

โดยบัตรทองนั้นใช้ไมล์สะสมที่ 50,000 ไมล์เอกสิทธิ์ ในระยะเวลา 12 เดือน หรือ 80,000 ไมล์เอกสิทธิ์ ในระยะเวลา 24 เดือน

20160601-rop-gold

ระยะทาง 50,000 ไมล์เอกสิทธิ์(เดินทางภายใน 12 เดือน)นั้น หากคิดเป็นตั๋วไปกลับ ออสเตรเลีย-กรุงเทพฯ ซึ่งมีระยะทางไปกลับอยู่ที่ประมาณ 9,000-9,300 ไมล์ ขึ้นอยู่กับว่าปลายทางอยู่ที่เมืองไหน ถ้าบินด้วยชั้นประหยัดแบบไม่ใช่ตั๋วโปรฯ(ไมล์สะสม 100%) ก็ประมาณไปกลับ 6 รอบ (หรือ 9 รอบในระยะเวลา 24 เดือน ที่ 80,000 ไมล์), แต่ถ้าบินด้วยด้วยที่นั่งชั้นรอยัลซิลค์(ไมล์สะสม 125%) ก็เพียง 5 รอบ (หรือ 7 รอบในระยะเวลา 24 เดือน ที่ 80,000 ไมล์)

ดังนั้นคนที่อยู่ออสเตรเลียใครที่กลับไทยบ่อย ๆ หากวางแผนดี ๆ ก็สามารถได้บัตรทองได้ไม่ยากเลย

ดูระยะทางของเที่ยวบินได้ที่: "ตารางระยะทางบิน รอยัลออร์คิดพลัส"

 

บัตรสมาชิก ROP รูปแบบดิจิทัล (Digital Membership Cards)

เมื่อไม่นานมานี้ทาง ROP ได้เปิดให้สมาชิกสามารถดาวน์โหลดบัตรในรูปแบบดิจิทัลได้แล้ว โดยมีข้อมูลชื่อและหมายเลขสมาชิก สถานภาพบัตร และแถบบาร์โค้ด QR ซึ่งเป็นระบบข้อมูลในรูปแบบเดียวกันทั้งหมดของทุกสายการบินในกลุ่มพันธมิตรสตาร์ อัลไลแอนซ์

20160601-rop-digital-card

ซึ่งประโยชน์ของบัตรแบบดิจิทัลนี้คือสามารถเก็บไว้บนมือถือ เพื่อแสดงให้กับเจ้าหน้าที่ของการบินไทยและสายการบินในกลุ่มพันธมิตรสตาร์ อัลไลแอนซ์ เมื่อต้องการใช้สิทธิพิเศษต่าง ๆ

โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่หน้าเว็บไซต์ www.thaiairways.com/rop หลังจากเข้าสู่ระบบแล้วจะอยู่ภายใต้เมนู Profile > Download Digital Card

ที่มา: "Digital Membership card"

 

 

จบละเรื่องราวของ ROP :) พยายามเขียนให้รวบรัดและเข้าใจได้ง่ายที่สุด หากเพื่อน ๆ อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่เว็บไซต์ www.thaiairways.com/rop และบนหน้าเว็บนั้นก็ยังมีสิทธิพิเศษอัพเดทให้กับสมาชิก ROP โดยตลอด

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 02 มิ.ย. 2016
MaBrisbane

Welcome to The Sunshine State