สั่งพิมพ์หน้านี้

ชีวิตในต่างแดน ตอนที่ 3

เผยแพร่เมื่อ 17 ส.ค. 2013 ผู้เขียน
ชีวิตในต่างแดน ตอนที่ 3 Panit Netrabukkana

ตอนที่ 3 วิธีการเลือกมหาวิทยาลัย

 
สวัสดีครับอาทิตย์นี้เป็นอาทิตย์ที่สามแล้ว ที่ผมมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟังกัน สำหรับอาทิตย์นี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับเทคนิควิธีการที่ใช้ในการเลือกสถานที่ศึกษาสำหรับนักศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย

ตอนที่แล้วผมได้เล่าเกี่ยวกับ Homestay ที่ผมได้ไปอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนอาทิตย์นี้จะกลับมาเรื่องใกล้ตัวกันบ้าง นั่นก็คือสถานที่ศึกษา ในตอนที่ผมไปศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษประมาน 2 เดือนกว่าๆ ซึ่งในตอนแรกผมคิดว่ามันคงเป็นเรื่องสนุกน่าดู ถ้าหากได้เรียนและเที่ยวไปพร้อมๆกัน แต่แล้วสิ่งที่ผมคิดไว้ก็ผิดถนัด ซึ่งตอนนั้นผมเดินทางไปกับโรงเรียนมัธยมในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน เพื่อที่จะใช้เวลาในช่วงนั้นศึกษาภาษาเพิ่มเติม ดั้งนั้นจึงไม่มีทางเลือกในการเลือกสถานศึกษาเอง แต่นั่นก็สอนให้ผมรู้ว่าโรงเรียนที่ดี ที่เหมาะกับตัวเรานั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับชื่อของสถาบัน แต่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หลายคนคงผ่านช่วงเวลาในรั้วมัธยมมาแล้ว เพราะฉะนั้นผมคงจะไม่พูดถึงมันมากนัก แต่จะไปเน้นที่ปัจจัยในการเลือกมหาวิทยาลัยแทน

เทคนิคและวิธีการเลือกมหาลัย

คณะหรือสาขาวิชา เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องศึกษาดูว่ามหาวิทยาลัยนั้นมีคณะที่เราสนใจจะศึกษาต่อหรือไม่ เพราะหากไม่มีคณะที่เราต้องการนั้น ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะฝืนตัวเองไปเรียนในคณะที่เราไม่ชอบ

สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และสถานที่รอบๆ มหาวิทยาลัย หลายคนอาจจะชอบอยู่แบบในเมือง เพราะฉะนั้นถ้าหากเรามาอยู่มหาลัยที่ออกมาไกลจากเมืองเกินไป มันก็อาจจะทําให้เราไม่สะดวกที่จะเดินทาง จะเดินทางมายังสถานศึกษา หรือไม่ชอบสถานศึกษานั้น

ความสามารถ ความสามารถนี้หมายถึง เราสามารถสอบเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นได้หรือไม่ แต่ละมหาวิทยาลัยมีความต้องการแตกต่างกันหรือ requirement of entry ที่แตกต่างกันไป

อันดับของมหาวิทยาลัย การที่เราเลือกมหาลัยนั้นเราก็สมควรเลือกมหาวิทยาลัยที่ดีและมีชื่อเสียง เพราะจะเป็นการดีหลังจากที่เราจบในการเลือกสถานที่ศึกษาต่อ หรือ ในหน้าที่การงาน การดู Ranking นั้นสมควรที่จะดูลึกลงไปใน Ranking ของ คณะที่เราจะศึกษา อย่าดูเฉพาะ Ranking ของมหาวิทยาลัย

สิ่งอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัย หลายมหาวิทยาลัยนั้นมีการพัฒนาการศึกษาที่ดี แต่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการที่เราจะศึกษาในคณะนั้น ก็จะเป็นอุปสรรคอย่างมาก เพราะเราคงไม่มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติควบคู่กันไป เช่น เราเรียน Bachelor of Science: Major inChemistry มหาวิทยาลัยที่เราเลือกนั้นมีห้อง Lab ที่เราสามารถใช้ได้หรือไม่

ค่าเรียนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่างประเทศนั้นเป็นเงินจำนวนที่มากพอสมควร และแตกต่างกันไปแต่ละมหาลัย เพราะฉะนั้นเราสมควรที่จะคํานวนค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกมาว่ากว่าที่เราจะเรียนจบนั้นเราต้องมีค่าใช้จ่ายประมานเท่าไร

ท้ายที่สุดแล้วก็คงไม่มีอะไรสําคัญไปกว่าความพยายามและความตั้งใจที่เราอยากจะเรียนในสาขานั้นๆ หรือไม่ ลองถ้าพยายามแล้ว ถึงแม้ไม่เงินค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อ แต่เราก็ยังสามารถสอบเพื่อขอทุนได้

ผมหวังว่าบทความนี้คงจะช่วยให้เพื่อนๆ หลายๆ คน เลือกสถานที่ศึกษาต่อที่เหมาะกับตัวเองได้ไม่มากก็น้อยนะครับ และอาทิตย์หน้านั้นผมจะกลับมาเล่าชีวิตที่แตกต่างในรั้วมัธยมและมหาวิทยาลัยต่อนะครับ

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 15 ก.ย. 2014